วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

KM กับ ปลาทู เกี่ยวกันยังไง??






























ความหมายของ COP

COP ย่อมาจาก Community of Practice ซึ่งหมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ
COP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ลักษณะที่สำคัญของ COP
• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)
• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติ
ประโยชน์ของ COP
ระยะสั้น
• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
• ลดระยะเวลา และการลงทุน
• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน
• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อ
ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธี
แก้ปัญหา

ระยะยาว
•เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
• เกืดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้
• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ
• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น
• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้
• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร
• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์


ลักษณะการทำ COP

• แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่
• แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว
• แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)
• แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย
• แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร
• แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คน


ประเภทของ COP
• Helping Communities เพื่อแก้ปัญหาประจำวันและแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก
• Best Practice Communities เน้นการพัฒนา ตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
• Knowledge-stewareding Communities เพื่อจัดระเบียบ ยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ
• Innovation Communities เพื่อพัฒนาแนวคิด โดยเน้นการข้ามขอบเขต เพื่อผสมผสานสมาชิกที่มุมมองต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น