วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การพูดเป็น-ถามเป็น

การพูดเป็น-ถามเป็น

• พูดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เหมาะกับผู้ฟัง โดยการจะประเมินลักษณะการพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟังนั้น ควรศึกษาถึงพื้นฐานของผู้ฟัง อาจถามผู้ฟัง ตั้งใจฟัง และสังเกตลักษณะจากการเล่าเรื่อง ความสนใจของผู้ฟัง
 • พูดเกริ่นเพื่อนำกลุ่ม
• พูดเพื่อคุมประเด็นและเวลา ขัดจังหวะอย่างนิ่มนวล
• พูดเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน บอกกติกาชัดเจน ความคาดหวัง
• พูดเพื่อสร้างความไว้วางใจ โน้มน้าวใจ เจรจาต่อรอง
• ใช้ชนิดของคำถามที่เหมาะสม (คำถามปิด-เปิด)
• พูดในสิ่งที่ตนอยากพูด หรือควรจะพูดในสิ่งที่คนอื่นอยากฟัง

การถามเพื่อค้นหาเรื่องที่ต้องการรู้
• กำหนดประเด็ฯที่เราต้องการรู้หรือปัญหาที่เรามีอยู่ให้ชัดเจน เช่น ความยากในการดำเนินการ หรือผลลัพธ์ที่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ
• การตั้งคำถาม เพื่อค้นหาว่ากระบวนการเป็นอย่างไร (How), ค้นหาบริบท (Why), ค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Success factors)
ตัวอย่างการใช้ประโยคเพื่อทำให้การสนทนามีประสิทธิภาพต่อเนื่อง
ประโยคควรขึ้นต้นด้วย ควรถามผู้เล่ากลับด้วย
• "มีความคิดว่า..."
• "มีความเชื่อว่า..."
• "ข้อเท็จจริงคือ..."
• "จากประสบการณ์บอกว่า..." • "ขอคำชี้แจงเพิ่มเติม"
• "ขอข้อมูลเพิ่มเติม"
• "ช่วยกรุณาเล่าประสบการณ์ให้ฟังด้วย"
• "รู้สึกอย่างไรบ้าง"
• "เชื่ออย่างไร (ขอคำอธิบายเพิ่มเติม)"
คิดเป็น
• คิดเชิงบวก คือ การมองโลกและเรื่องต่าง ๆ ในแง่ดี (ดังเช่น การตนเองหรือองค์กร ต้องมองให้เห็นส่วนดีของตนเองหรือองค์กร มองเห็นส่วนที่จะพัฒนาในทางดีต่อไปได้เสมอ เห็นลู่ทางที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกและบุคคลอื่นรอบตัวได้อย่างราบรื่น เสมอ)
• คิดเชิงระบบ คือ การมองถึงภาพรวม วัตถุประสงค์ เหตุและผล โดยพิจารณาทุก ๆ มิติ เข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ในระบบโครงสร้าง การเชื่อมโยงกัน การสัมพันธ์กัน การปฏิสัมพันธ์กัน หรือการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของสิ่งต่าง ๆ (ดังเช่น บุคลิกภาพ ความคิด และการกระทำของแต่ละคน จะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมหรือองค์กร ดังนั้นบุคลากรขององค์การเป็นเครื่องสะท้อนหรือตัวแทนให้บุคคลภายนอกหรือ ลูกค้าเห็นในตัวตนความเป็นองค์การ)
• คิดแบบสร้างสรรค์
• ประเมินและวิเคราะห์ความต้องการและวัฒนธรรมของกลุ่ม
เข้าใจ เข้าถึง และจัดการกับสมาชิกได้
• จริงใจและเอื้ออาทร
• การให้เกียรติกับสมาชิกทุกคน
• มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้


บุคลิกภาพ

" บุคลิกภาพ (Personality) คือ สภาพทางกายและทางจิตของแต่ละบุคคล ที่ปรากฏผลรวมออกมาเป็นสภาพและพฤติกรรมที่มีแบบแผนให้ผู้อื่นเห็น รู้ และเข้าใจในสภานภาพปกติในช่วงชีวิตธรรมดาของผู้นั้น" ดร.สันทัด ศะศิวณิช
บุคลิกภาพ ที่ดีของบุคคลแต่ละคนขององค์กร เป็นปัจจัยก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างบุคลากรขององค์การ และยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลภายนอก รวมทั้งลูกค้าขององค์กร ทั้งยังเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์การด้วย
บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภานอก และบุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภายใน
องค์ประกอบของบุคลิกภาพ
• รูปลักษณ์ทางกาย รวมทั้งอากัปกิริยาที่สามารถเห็นได้ด้วยตา มีความสำคัญมากต่อความรู้สึกยอมรับของผู้อื่นว่ารักหรือเกลียด ชอบหรือชัง คบหรือไม่คบ เชื่อหรือไม่เชื่อ ถือเป็นปัจจัยที่กระทบความรู้สึกของผู้พบเห็นอันดับแรกและเร็วที่สุดโดยใช้ เวลาเพียง 4 วินาที
• ภูมิปัญญา เป็นคุณสมบัติภายใน รวมถึง จิตสำนึก อุปนิสัย ความรู้ ความคิด สติปัญญา โดยในส่วนนี้มีความสำคัญต่อบุคคลที่มีสถานะ ตำแหน่งหน้าที่ และวิชาชีพ ที่ต้องใช้สมอง ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีความสามารถและศิลปะในการสื่อสารเพื่อให้ส่วนนี้เด่นขึ้น มา อย่างไรก็ตามคุณสมบัติในส่วนนี้สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ไม่มีที่สิ้นสุด (การเป็นพหูสูต คือ เป็นคนรอบรู้ และต้องรู้อย่างสมบูรณ์ กระจ่างในทุกแง่มุมของวิชาชีพ หรือเรื่องที่ตนถนัด ไม่ทอดทิ้งให้ความรู้ของตนล้าหลังหรือหยุดนิ่ง)
• ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมาก
• การมีมรรยาท เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะมรรยาทเป็นกติกาของสังคม เป็นพื้นฐานของกฎหมายโดยทั่วไป
บุคลิกดี น่าเชื่อถือ
• ตรงต่อเวลา
• แต่งกายเหมาะสม
• เชื่อมั่นในตนเอง
• ยิ้มแย้มแจ่มใส
• มีน้ำใจ
• มีมรรยาท

การรับข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ธรรมชาติของมนุษย์มีความสามารถในการรับข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สมอง
• ผ่านประสาทตาถึง 87%
• ผ่านประสาทหูเพียง 9%
• ผ่านประสาทสัมผัสเพียง 4%
ดังนั้นการสื่อความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับการสื่อสาร
• โดยใช้คำพูดหรือถ้อยคำ (Verbal) จะสื่อสารได้เพียง 7%
• โดยใช้การสร้างอารมณ์ของถ้อยคำด้วยน้ำเสียง (Vocal) จะสื่อสารได้ถึง 38% เช่น Speed (ความเร็ว), Pitch (ระดับเสียง), Tone (น้ำเสียงสูงต่ำ), Volume (ระดับความดังกังวาน)
• โดยใช้ นริพจน์ภาษา หรือ ภาษากาย (Visual หรือ Nonverbal Language) มาประกอบ จะสื่อสารได้ถึง 55% เช่น Eye Contact (การสบตา), Facial Expression (การแสดงออกทางสีหน้า), Body Language (ภาษากาย), Object Language (การยึดติดหรือการจองพื้นที่), Proximics (ระยะใกล้ห่าง)


ที่มาข้อมูล


บูร ชัย ศิริมหาสาคร. 2550. การทำ CoP เพื่อจัดการความรู้ในองค์กร โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องความสำเร็จ (Storytelling). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, นครปฐม. ประเทศไทย. 16 หน้า
ธวัชชัย หล่อวิจิตร. 2550. การจัดการความรู้ : ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 32 หน้า
เกศรา รักชาติ. 2550. Becoming Effective Change Leader to Create a Learning Organization. เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 123 หน้า
สันทัด ศะศิวณิช. 2550. การเสริมสร้างบุคลิกภาพและการสมาคม. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก นรเศรษฐ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 89 หน้า



"CommonKADS" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.commonkads.uva.nl/frameset-commonkads.html

"What is an Ontology" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www-ksl.stanford.edu/kst/what-is-an-ontology.html

1 ความคิดเห็น:

Boonyalak-Egg.blogspot.com กล่าวว่า...

อาจารย์ชอบบทความนี้มากค่ะ.. เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกสาขาที่เรียนค่ะ.. แต่อาจเพิ่มภาพประกอบเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่ดี และภาพที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร ในเว็บมีเยอะเลยค่ะ..แต่อย่าลืมอ้างอิงที่มาของภาพให้เขาด้วยนะคะ..จะได้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

แสดงความคิดเห็น