วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการเป็น Facilitator (คุณอำนวย)

เทคนิคการเป็น Facilitator และ Historian

• ฟังเป็น
• พูด/ถามเป็น
• คิดเป็น
• เข้าใจ เข้าถึง และจัดการกับสมาชิกได้
• บุคลิกดี น่าเชื่อถือ


• ฟังเป็น
• จับประเด็นเป็น
• บันทึกย่อ ๆ สาระสำคัญ

• ใช้ Tools ช่วย เช่น Mind Map เป็นต้น
• เขียนเป็น
• จัดเนื้อหา (ขุมความรู้) ให้เป็นหมวดหมู่ และเป็นระบบ


ระดับการฟัง

• ไม่สนใจฟังผู้สนทนา (Ignoring) ไม่มี eye contact มีการถามซ้ำ คุยกันคนละเรื่อง
• ฟังแบบเสแสร้งฟัง (Pretending) มีการพยักหน้าผิดจังหวะ ถามกลับคุยกันคนละเรื่อง
• ฟังแบบเลือกสิ่งที่อยากฟัง (Selective listening) เลือกฟังเฉพาะที่ผู้ฟังต้องการได้รับข้อมูลข่าวสาร
• ฟังแบบตั้งอกตั้งใจฟัง (Attentive listening) เป็นการฟังโดยเอาตัวฟังเป็นที่ตั้ง มีการถามคำถาม ผู้ฟังมีการให้คำแนะนำคำปรึกษาโดยใช้ประสบการณ์ในการประเมินและตัดสิน
• ฟังแบบเข้าอกเข้าใจ (Empathic listening) เป็นการฟังที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยเอาตัวผู้เล่าเป็นที่ตั้ง มีการทวนสรุปใจความคำพูดและความรู้สึกของผู้เล่าด้วยถ้อยคำของผู้พูดเองก่อน เสมอ แล้วถามผู้เล่าว่าเราเข้าใจถูกต้องไหม แล้วจึงสนทนาต่อ หากเข้าใจไม่ถูกต้อง ขอให้ช่วยอธิบายหรือพูดใหม่ โดยผู้พูดต้องมีความปรารถนาดีอย่างจริงใจ การฟังแบบนี้ผู้เล่าจะสามารถประเมินและตัดสินได้ด้วยตัวเอง


อุปสรรคต่อการทำความเข้าใจหรือการฟัง

• การรับรู้
• ภาษา
• ท่าทาง
• ความสนใจส่วนตัว
• อารมณ์
• น้ำเสียง
• สิ่งแวดล้อม-เสียง
• การคาดการณ์ไว้ก่อน
• พูดอย่างไร้ความหมาย
• ความสนใจที่หลุดประเด็นออกไป
• อุปสรรคด้านการได้ยิน
• ความเร็วในการคิด

การปรับปรุงทักษะการฟัง• กำจัดสิ่งที่ดึงความสนใจออก
• มีสมาธิในขณะนั้น
• ทุ่มความสนใจไปที่ผู้พูด
• เปิดใจ
• มองหาความหมายจากสิ่งที่ไม่ได้เป็นคำพูด เช่น ภาษากาย น้ำเสียง
• ไม่ตอบสนองกับคำที่แสดงอารมณ์
• ถามคำถาม
• นั่งทำให้สามารถเห็นและได้ยิน
• หลีกเลี่ยงการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า
• บันทึกย่อ (ใช้เทคนิค Mind Map จดบันทึกบนกระดาษ A4)
• ถามเพื่อความกระจ่าง
 

1 ความคิดเห็น:

pcunurse กล่าวว่า...

ครอบคลุมดีคะ จะไปถึงไหมเนี่ย

แสดงความคิดเห็น